ฟุตบอลชายหาด สมัครรับโบนัสฟรี

ฟุตบอลชายหาด

ประวัติของฟุตบอลชายหาด

กีฬาชนิดนี้ต้องบอกเลยว่าเดิมทีเป็นการเอาลูกฟุตบอลมาเตะเล่นกันเท่านั้นเอง เอาฟุตบอลมาเล่นบนชายหาดด้วยการใช้ข้อดีของทรายก็คือเล่นแล้วล้มไม่เจ็บ ทำให้การเล่นไม่รุนแรงมากนัก จากกีฬาที่เล่นกันสนุกของนักท่องเที่ยวตามชายหาดทั่วโลก ได้มีหน่วยงานหนึ่งคิดค้นกฎ กติกา มารยาทการเตะฟุตบอลชายหาดขึ้นมาอย่างเป็นจริง เป็นจัง ผู้ก่อตั้งดังกล่าวชื่อว่า บีชซอกเกอร์ เวิลด์ไวด์ เค้าได้เอาผู้เล่นฟุตบอลชายหาดทั้งระดับสมัครเล่น และนักฟุตบอลอื่น มาหารือร่วมกันเพื่อสร้างกฏกติการ่วมกันใหม่ จากนั้นก็เปิดการแข่งขันให้มากขึ้น มีการตั้งรางวัลเพื่อจูงใจมากขึ้นทั้งระดับสมัครเล่น จนถึงระดับอาชีพ คนก็เลยเล่นกันแพร่หลายมากขึ้น พร้อมทั้งถูกบรรจุไปในมหกรรมกีฬาชายหาดทั้งระดับประเทศ ระดับทวีป หรือระดับโลกในที่สุด ยังไม่รวมถึงการจัดแข่งขันฟุตบอลชายหาดทีมชาติระดับนานาชาติ ระดับทวีป และระดับโลกในที่สุด

ฟุตบอลชายหาด แตกต่างอย่างไร

ฟุตบอล ฟุตซอล และ ฟุตบอลชายหาดนั้น แม้จะมีหลักการเล่นเบื้องต้นเหมือนกัน ก็คือ การทำประตูฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด แต่สภาพสนามแตกต่างกันทำให้วิธีการเล่นแตกต่างกันไปด้วย ฟุตบอลชายหาดนั้น การจ่ายบอลจะเล่นยากมาก เนื่องจากบอลที่กระทบกับทรายจะหยุดอยู่กับที่ หรือเคลื่อนตัวด้วยความหนืด ช้ามาก จนทำให้การเล่นยากขึ้น ส่วนการเลี้ยงบอลก็ยากด้วยเพราะบอลมันไม่ไปเท่าไรเนื่องจากทรายจะคอยหยุดลูกบอลเอาไว้ วิธีการเล่นฟุตบอลชายหาด จะเน้นการขึ้นลงรุกรับที่รวดเร็วเหมือนฟุตซอล (ทำให้นักกีฬาต้องฟิตให้ถึงเลย ลองนึกภาพเราวิ่งเล่นด้วยความเร็วบนพื้นทรายดูได้ว่าต้องอึดแค่ไหน) สองพวกเค้าจะเล่นการบอลยาวแบบแม่นคมเป็นหลัก เพราะบอลกลางอากาศเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้ลูกบอลไปได้เร็วกว่าบนพื้นที่อาจจะหนืด เลยไม่แปลกที่ผู้รักษาประตูจะเน้นการขว้างเพื่อทำให้บอลพุ่งไปยังกองหน้าให้เร็วที่สุดเพื่อทำประตูมากกว่าจะโยนลูกให้ย้อยๆข้ามไป สามการเล่นต้องไม่กลัวเจ็บ ต้องกล้าเล่นเลยทั้งการเล่นท่า ทริคบอล จักรยานอากาศ เตะด้วยท่าวอลเลย์ลูกกลางอากาศ ฯลฯ ฟุตบอลชายหาดเค้าออกแบบมาอย่างนี้

ฟุตบอลชายหาด

คอนเซปต์การเล่นฟุตบอลชายหาด

กีฬาฟุตบอลชายหาด จุดเด่นของกีฬานี้ก็คือ เราจะต้องเล่นลูกฟุตบอลบนชายหาด ซึ่งพื้นชายหาด พื้นทรายนั้น อาจจะมองว่าแค่แตกต่างกับพื้นหญ้า(ฟุตบอล) พื้นแข็ง(ฟุตซอล) แต่ความจริงแล้วพื้นทรายนั้นแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง การเล่นฟุตบอลชายหาดมีคอนเซปต์การเล่นไม่แตกต่างจากฟุตบอลแบบอื่นก็คือ เราต้องสามารถยิงประตูด้วยเท้าทำประตูฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากกว่า ในช่วงเวลาที่กำหนด

สนามแตกต่าง

สนามฟุตบอลชายหาดนั้น มีความแตกต่างจากสนามแบบอื่น เพราะว่าการเล่นแบบนี้ต้องไม่ใส่ถุงเท้า รองเท้า เล่นแบบเท้าเปล่า ดังนั้นสิ่งแรกที่พื้นทรายจะต้องมีเป็นเรื่องความสะอาดอย่างมาก ต้องไม่มีเศษหิน เศษก้อนกรวด เปลือกหอย เศษแก้ว และอะไรก็ตามที่อาจจะทิ่มแทง ตำ เท้าผู้เล่นได้ หากผู้เล่นบาดเจ็บเพราะอาการหินตำเท้าคงทำให้เวลาที่เหลือนักกีฬาเล่นแบบระวังตัวจนหมดสนุกไป ส่วนสนามฟุตบอลชายหาดจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านยาวยาวด้านละ 35-37 เมตร ด้านกว้างด้านละ 26- 28 เมตร นอกจากนั้นจะมีการทำกรอบเขตโทษด้วย การกำหนดกรอบเขตโทษจะแปลกกว่าฟุตบอลอื่น ก็คือ จะเป็นสีเหลี่ยมขนาดใหญ่จากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง โดยจะมีการปักธงเหลืองทั้งสองด้านเอาไว้เพื่อสร้างเป็นแนวยาว ส่วนกลางสนามจะปักธงแดงเอาไว้ทั้งสองข้าง เพื่อทำเป็นสัญลักษณ์แสดงแนวเส้นกลางสนาม ส่วนประตูฟุตบอลชายหาดจะมีความสูงประมาณ 2 เมตร กว้าง 5.5 เมตร (นับจากเสาประตูไปหาเสาประตู)

ลูกฟุตบอลชายหาด

ลูกฟุตบอลของเกมฟุตบอลชายหาดอาจจะเป็นลูกบอลที่ดูจะเบาและเหินกว่าลูกฟุตบอลอื่นทั่วไปเล็กน้อย กติกาบอกว่า ลูกฟุตบอลต้องเป็นทรงกลม ลูกบอลทำจากหนักหรือวัสดุอื่นที่ใกล้เคียงกัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 68-70 เซติเมตร น้ำหนักของลูกต้องอยู่ระหว่าง 400-440 กรัม สุดท้ายแรงดันอากาศของลูกฟุตบอลต้องอยู่ระหว่าง 0.4-0.6 ที่ระดับน้ำทะเลนั้น หากเป็นการจัดแข่งขันลูกฟุตบอลต้องมีเครื่องหมายการรับรองจากองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อการันตีมาตรฐานของลูกด้วย โดยมีสองเครื่องหมายหนึ่งคือ ฟีฟ่า และ IMS

ฟุตบอลชายหาด

กติกา ฟุตบอลชายหาด

ฟุตบอลชายหาดเป็นกีฬาฟุตบอลที่พัฒนามาจากฟุตซอลอีกทีหนึ่ง ทำให้กติการเบื้องต้นจะคล้ายกับฟุตซอลก่อน เริ่มจากผู้เล่นจะลงสนามได้ครั้งละ 5 คนเท่านั้น ตัวสำรองมีได้สูงสุด 7 8นสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นต่อได้ตลอด(เหมือนฟุตซอล) ที่กำหนดการเปลี่ยนตัวได้ตลอดก็เพราะว่ากีฬานี้ต้องใช้แรงเยอะมาก ลองนึกภาพเราต้องวิ่งขึ้นลง เตะ กระโดด ด้วยความเร็วตลอดเวลา ทรายที่คอยจะหนืดเท้ารั้งเอาไว้ให้เราวิ่งออกแรงมากขึ้น เลยต้องออกกฎนี้มาเพื่อเซฟแรงของนักกีฬา พร้อมกับแทคติคการเล่นจะหลากหลายขึ้น

เวลาการเล่น

สำหรับฟุตบอลชายหาดจะใช้เวลาการเล่นแบ่งออกเป็นช่วงเหมือนกับ ฟุตซอล โดยแข่งขันทั้งหมดใช้เวลา 36 นาที แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 1 2 นาที มีการพักเบรกระหว่างช่วงด้วย หากเล่นครบทั้ง 3 ช่วงยังไม่มีผู้ชนะ จะต้องต่อเวลาพิเศษไปอีก 3 นาที หากยังเสมอกันอีก จะตัดสินด้วยการยิงจุดโทษใช้ 3 คน หากยิงครบ 3 คนยังไม่ได้ผู้ชนะ ก็จะใช้คนอื่นไปเรื่อยๆจนครบทุกคนเพื่อหาผู้ชนะให้ได้ อีกเรื่องที่ต้องบอกว่าแตกต่างจากฟุตบอลก็คือ ฟุตบอลชายหาดจะไม่มีการทดเวลาบาดเจ็บ แต่จะใช้วิธีการหยุดเวลาเมื่อบอลตาย(บอลออกนอกสนาม, เกิดการฟาล์ว, เกิดประตู)แทน เหมือนกับกีฬาบาสเกตบอล อย่าจำสับสน

ใบเหลือง ใบแดง

ฟุตบอลชายหาด ได้มีการออกกติกาใบเหลือง ใบแดงเหมือนกับฟุตบอลทั่วไปด้วย แต่มีเงื่อนไขที่น่าสนใจทีเดียว ในกรณีของใบเหลืองก่อน หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ใบเหลือง นักกีฬาคนนั้นจะต้องออกไปพักข้างสนามเป็นเวลา 2 นาที โดยที่ทีมจะไม่สามารถเปลี่ยนตัวลงมาแทนได้ ฝ่ายที่โดนใบเหลืองจะต้องเสียเปรียบเรื่องจำนวนคนที่น้อยกว่าเป็นระยะเวลาหนึ่งแต่เมื่อครบเวลาสองนาที นักกีฬาที่โดนใบเหลืองจะสามารถลงมาเล่นในสนามได้เลย(แต่ใบเหลืองยังติดตัวอยู่)  แต่หากโดนใบแดงโทษจะหนักขึ้นกล่าวคือ นักเตะโดนออกจากข้างสนามและไม่สามารถกลับมาลงเล่นได้อีก ส่วนทีมต้องเสียเปรียบผู้เล่นเป็นเวลาสองนาที เมื่อครบเวลาก็สามารถส่งผู้เล่นคนอื่นลงมาได้

การได้ประตู ฟุตบอลชายหาด

สำหรับการได้ประตูของกีฬาฟุตบอลชายหาดนั้น จะใช้กฎที่เหมือนกับฟุตบอลใหญ่ทุกประการ อย่างแรกเลยลูกฟุตบอลต้องข้ามเส้นไปทั้งใบแล้วถึงจะนับว่าเป็นประตู ข้ามไปส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วคว้าออกมาได้ไม่นับเป็นประตู สองหากฝ่ายรุกทำให้เกิดฟาล์วแล้วจังหวะดังกล่าวทำให้เกิดประตู แบบนี้ไม่นับเป็นประตู สามการจงใจเตะโดนผู้รักษาประตูเพื่อให้ลูกฟุตบอลชิ่งเข้าประตูไปแบบนี้ก็ไม่ได้ประตูเหมือนกัน หลังจากได้ประตูแล้ว(พร้อมกับกรรมการเห็นชอบ) กรรมการจะหยิบลูกฟุตบอลมาตั้งเกมกันใหม่(เขี่ยบอล) เพื่อเริ่มเล่นต่อไปอีกครั้งจนกว่าจะหมดเวลา

การเล่นลูกฟรีคิก

ฟุตบอลชายหาดมีการปรับกฎกติกาบางอย่างให้แตกต่างจากเกมฟุตบอลรูปแบบอื่น อย่างแรกที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยก็คือ การเล่นลูกฟรีคิก เบื้องต้นการเล่นลูกฟรีคิกนั้นเราจะเล่นตรงจุดที่เกิดการฟาล์วขึ้นเหมือนกับฟุตบอลทั่วไป แต่ฟุตบอลชายหาดจะพิเศษตรงนี้ ใครโดนทำฟาล์วจะต้องลุกขึ้นมาเตะฟรีคิกเอง ไม่มีการเตะแทนกัน(ยกเว้นกรณีผู้ที่จะเตะเกิดอาการบาดเจ็บ) นอกจากนั้น การเตะฟรีคิกยังมีกฎการตั้งกำแพงป้องกันลูกฟรีคิกของฝ่ายตรงข้ามด้วย กำหนดไว้สองสถานการณ์ หากการฟาล์วเกิดขึ้นในแดนตัวเอง จุดฟาล์วไม่เกินครึ่งสนาม ไม่มีการกำหนดการตั้งกำแพงจะยืนตรงไหนก็ได้ แต่ขออย่างเดียวว่า จุดที่ยืนจะต้องไม่ขวางวิถีบอล (อย่าบังบอลว่าง่ายๆ) สองหากจุดฟาล์ว จุดการเล่นฟรีคิกเกิดครึ่งสนามของตัวเอง ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะต้องอยู่หลังแนวลูกบอลของตัวเอง ยกเว้นผู้รักษาประตูเกมรับ อธิบายเพิ่มเติม พอเกิดการฟาล์วแบบนี้ ผู้เล่นฝ่ายบุกต้องอยู่หลังแนวลูกบอลฝั่งตัวเอง ฝ่ายรับก็อยู่หลังแนวลูกบอลฝั่งตัวเองเหมือนกัน จะไม่มีการไปยืนรอในพื้นที่อีกฝ่ายหนึ่ง ที่ออกกฎนี้มาก็เพื่อป้องกันการเล่นลูกฟรีคิกแบบหยอดไปหน้าประตู ส่วนการฟาล์วถ้าเป็นในเขตโทษ(พื้นที่ธงเหลือง) จะได้เตะลูกจุดโทษแทน

การเล่นลูกข้าง ฟุตบอลชายหาด

ฟุตบอลสนามใหญ่ใช้การทุ่มเมื่อลูกออกข้าง ฟุตซอลใช้การเตะเข้าสนามเมื่อออกข้าง แต่ฟุตบอลชายหาดเลือกเอาทั้งคู่มาเล่นด้วยกันเลย ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำลูกบอลออกข้าง อีกฝ่ายจะได้เป็นฝ่ายเล่นเข้ามาในสนาม ทีนี้ฟุตบอลชายหาดกำหนดไว้ว่า ผู้เล่นสามารถเลือกที่จะนำลูกบอลเข้าสนามได้ทั้งสองวิธีคือ ใช้มือทุ่ม หรือ เท้าเตะก็ได้ แต่มีกฎห้ามอยู่ว่า หากแสดงท่าทางว่าจะทุ่ม หรือ เตะอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนใจได้ (ป้องกันการเล่นแบบถ่วงเวลา และ หลอกจนอีกฝ่ายเสียจังหวะ) อีกทั้งการส่งบอลเข้าสนามจะต้องทำภายในเวลาเพียงแค่ 4 วินาทีเท่านั้น

วิธีเตะลูกจุดโทษ ของกีฬาฟุตบอลชายหาด

สำหรับการเตะลูกจุดโทษนั้น เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ฟุตบอลชายหาดไม่เหมือนฟุตบอลใหญ่ อย่างแรกเลยก็คือ เขตโทษของกีฬาฟุตบอลชายหาดนั้นเป็นแนวยาวตลอดทั้งฝั่ง ทำให้คนที่ไม่ได้เตะจะไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่เขตโทษได้เลย ส่วนคนเตะนั้น กรรมการจะให้ตั้งลูกตรงกลางระหว่างเสาธงเหลืองทั้งสอง จากนั้นผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะไม่สามารถเข้าใกล้คนเตะจุดโทษได้ภายในระยะห่าง 5 เมตร ส่วนกรรมการจะประจำสองจุด จุดแรกบนเส้นเขตโทษเพื่อตรวจสอบตำแหน่งของลูกบอล และวิธีการยิง ส่วนกรรมการคนที่สองจะอยู่ระนาบเดียวกับผู้รักษาประตูเพื่อเช็กการเล่นของผู้รักษาประตู เมื่อกรรมการประจำจุดโทษให้สัญญาณนักเตะจึงสามารถเตะได้

เครื่องแบบการแต่งกายของผู้เล่น

นักกีฬาฟุตบอลชายหาดนั้น จะแต่งตัวคล้ายกับการเล่นฟุตบอลในสนามใหญ่มากกว่า กล่าวคือเสื้อจะเป็นเสื้อกีฬาแบบคอวี หรือ คอกลมก็ได้ เน้นผ้าลื่นเพื่อระบายอากาศและไม่ทำให้ทรายติดตามตัว (จะทำให้เสื้อมีน้ำหนักมากขึ้นจนวิ่งได้ช้าลง)ด้านหน้าบริเวณหน้าอกจะมีการติดเบอร์เสื้ออย่างชัดเจน อาจจะมีโลโก้ทีมสโมสร ทีมชาติก็ได้ ส่วนด้านหลังจะเป็นการใส่ชื่อเอาไว้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้กรรมการสื่อสารได้ถูกต้อง มีหมายเลขประจำตัวด้านหลัง ซึ่งเลขด้านหน้าและด้านหลังจะต้องตรงกัน  กางเกงอาจจะเป็นสีเดียวกันกับเสื้อหรือแตกต่างกันก็ได้ นักกีฬาอาจจะใส่เสื้อซับใน หรือ กางเกงซับในก็ได้ แต่ควรเป็นสีเดียวกันกับเสื้อผ้าที่ใส่เพื่อไม่ให้เป็นจุดสังเกตมากเกินไป

แต่สิ่งที่กีฬาฟุตบอลชายหาดไม่เหมือนกีฬาชนิดอื่นเลยก็คือ บริเวณเข่าลงไปกำหนดไว้เลยว่าจะไม่สามารถใส่อะไรได้เลยทั้งสนับเข่า สนับแข้ง ถุงเท้า รองเท้า อาจจะอนุโลมให้ใส่ผ้ารองกันบาดเจ็บที่ข้อเท้าได้ ส่วนดวงตาไม่นิยมให้ใส่แว่นกันทราย เพราะอาจจะหล่นหายระหว่างเล่น จนทำให้กลายเป็นสิ่งของที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นในสนามได้

ส่วนผู้รักษาประตูใช้กฎเดียวกันกับกีฬาฟุตบอลแบบอื่นก็คือ สามารถเลือกใส่เสื้อแขนสั้น หรือ แขนยาวก็ได้(ส่วนใหญ่นิยมแขนสั้นมากกว่า) แต่สีเสื้อจะต้องแตกต่างจากเพื่อนในทีม และสังเกตได้ง่ายจากคู่แข่ง กรรมการ กางเกงอาจจะเป็นสีเดียวกับเสื้อ หรือ สีที่แตกต่างออกไปก็ได้เหมือนกัน ส่วนใหญ่มักจะใช้สีเดียวกับเสื้อเพื่อให้มองเห็นได้ง่าย ถุงมืออันนี้ไม่บังคับมากนัก ขึ้นอยู่กับความถนัดว่าต้องการใส่หรือไม่

การดูแลการแข่งขันของกรรมการ

กีฬาฟุตบอลชายหาดเป็นกีฬาที่มีความละเอียดมาก ทั้งเรื่องของการเล่น เวลา การฟาล์ว ทำให้ระดับการแข่งขันอย่างเป็นทางการจะต้องมีกรรมการอย่างน้อย 4 คนต่อ 1 เกมการแข่งขัน โดยแบ่งหน้าที่กันดังนี้ สองคนแรกจะทำหน้าที่ตัดสินเกมในสนาม คนที่สามจะดูแลเรื่องข้างสนามตั้งแต่โค้ช ผู้จัดการทีม และตัวสำรองให้เปลี่ยนตัวอย่างถูกต้อง มีพฤติกรรมเป็นน้ำใจนักกีฬา ส่วนคนสุดท้ายจะทำการควบคุมเวลาการแข่งขันในสนามรวมถึงจำนวนการฟาล์วด้วย

เทคนิคการเล่น ฟุตบอลชายหาด

อีกหนึ่งทริคเพลย์วิธีการเล่นที่เด่นมากของกีฬาฟุตบอลชายหาดก็คือ การเดาะลูกฟุตบอล กล่าวคือ กีฬาชนิดนี้การเอาบอลลงพื้นจะทำให้เล่นได้ยากมากๆ ทำให้นักกีฬาต้องใช้วิธีอื่นเพื่อป้องกันลูกบอลของตัวเอง วิธีการป้องกันที่ดีก็คือ เค้าจะใช้วิธีการเดาะบอลเพื่อให้บอลอยู่กับตัวเอง อาจจะเดาะบอลด้วยหน้าอก หรือ เดาะด้วยเข่า หากฝ่ายตรงข้ามเข้ามาแย่งจะฟาล์วทันที เมื่อบอลเด้งได้ทีแล้วก็จะเป็นการหวดตูมเมื่อลูกบอลมา “เข้าข้อ” พอดี ซึ่งมันจะทำให้ลูกพุ่งเป็นเส้นตรงเหมือนกับลูกใบไม้ร่วงของฟุตบอลสนามใหญ่ ทำเอาผู้รักษาประตูไม่มีทางเลือกต้องโดดออกมารับให้ได้ ไม่เพียงแค่นั้นเวลายิงลูกฟุตบอลชายหาดส่วนใหญ่จะไม่ใช้การยิงเลียดพื้นเลยเนื่องจากทรายจะทำให้บอลลดความแรงลงได้ นักกีฬาส่วนใหญ่จะยิงด้วยการเตะใต้ลูกเพื่อให้ลูกลอยจากพื้นพุ่งไปข้างหน้าแรงๆ หรืออาจจะตักบอลให้ลอยแล้วเตะตูมไปมากกว่า

ฟุตบอลชายหาด

การแข่งขันฟุตบอลชายหาด

เรื่องการจัดแข่งขันกีฬาฟุตบอลชายหาดก็แตกต่างจากฟุตบอล ฟุตซอลด้วย ต้องเข้าใจก่อนว่าโดยพื้นฐานแล้วกีฬาชนิดนี้จะไม่มีการเสมอกัน ต้องมีผลแพ้ชนะกันเท่านั้น ทำให้การคิดคะแนนสำหรับการจัดแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มเปลี่ยนแปลงไป วิธีการคิดคะแนนก็คือ หากทีมไหนชนะได้ในเวลาปกติจะได้ 3 คะแนน หากชนะในช่วงต่อเวลาจะได้ 2 คะแนน หากชนะลูกโทษจะได้ 1 คะแนน ส่วนผู้แพ้จะไม่มีคะแนน ที่ต้องแบ่งคะแนนออกเป็นระดับแบบนี้เพราะว่าการเอาชนะในเวลาปกติได้นั้นเป็นเรื่องยากที่สุดนั่นเอง ส่วนการชนะด้วยวิธีอื่นเป็นเรื่องรองลงมา

แต่ถ้าหากเป็นการแข่งขันแบบสองนัด เหย้าเยือน การตัดสินหาผู้ชนะ ในกรณีที่เสมอกันจะเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งหรือทั้งหมดมาตัดสินดังนี้ หนึ่งใช้กฎการยิงประตูทีมเยือนเป็นหลัก (ตอนเล่นเป็นทีมเยือนใครผลงานดีกว่า ก็ชนะไป) หากยังตัดสินไม่ได้ก็ต้องมาเตะช่วงต่อเวลาพิเศษหลังจากช่วงเวลาปกติของเกมที่สองจบลง หากยังตัดสินไม่ได้อีกก็ไปจบที่การยิงลูกโทษที่จุดโทษ อย่างไรก็ตามทั้ง 3 รูปแบบการตัดสินก็ไม่ได้ตายตัว ฝ่ายจัดการแข่งขันสามารถเรียงลำดับวิธีไหนก่อนหลังก็ได้ แต่ต้องประกาศให้ชัดเจนเพื่อให้ทุกทีมเข้าใจร่วมกัน